EN/TH
EN/TH
บทความทางวิชาการประเด็นอื่นที่น่าสนใจ>ร- เทคโนโลยีพลิกผันในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และบทบาทของธนาคารกลางในทศวรรษหน้า-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ร- เทคโนโลยีพลิกผันในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และบทบาทของธนาคารกลางในทศวรรษหน้า-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 142 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 2 ครั้ง

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นแรงผลักดันให้สถาบันการเงินและธนาคารกลางต้องปรับตัวในหลายมิติ โดยสถาบันการเงินในไทยให้ความสนใจกับการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูล Cyber securityและ Distributed ledger technology อย่างมากเพื่อคาดหวังที่จะปรับปรุงบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลยังได้เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการรายเล็ก ผ่านรูปแบบการดําเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นด้าน e-commerce และความสามารถในการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจผ่านการใช้บริการที่เรียกว่า Everything-as-a-service

อย่างไรก็ตามปัจจัยสําคัญที่ต้องประเมินในยุคดิจิตอลคือความพร้อมของประชาชน ดัชนีชี้วัดทักษะด้านดิจิตอล (Digital literacy) จึงได้ถูกนําเสนอในงานวิจัยฉบับนี้เพื่อเป็นดัชนีกลางในการประเมินศักยภาพของประชากรไทยในการใช้ชีวิตในยุคดิจิตอล จากการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 21 ยังมีทักษะด้านดิจิตอลที่ต่ํา (Digital illterate) ซึ่งกลุ่มประชากรดังกล่าวมักจะตกงานหรือทํางานที่ใช้แรงงาน โดยเมื่อใช้บริการทางการเงินกลุ่มประชากรเหล่านี้ยังคงยึดติดกับสาขาและความสะดวกในการเข้าถึงตู้ ATM ดังนั้นเหตุการณ์Digital divide ที่เกิดจากความแตกต่างของ Digital literacy ระหว่างประชากรแต่ละกลุ่ม คือสิ่งที่ผู้วางนโยบายจะต้องให้ความสําคัญอย่างมากในอนาคต

ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลยังมีผลกระทบต่อบทบาทของธนาคารกลาง ซึ่งเกิดจากการเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ในรูปแบบดิจิตอลที่สร้างโดยภาคเอกชน และถูกใช้อย่างแพร่หลายแทนเงินในสกุลดั้งเดิม การชี้วัดตัวเลขทางเศรษฐกิจที่จําเป็นต่อการดําเนินนโยบายการเงินผ่านธุรกรรมบนสกุลเงินดั้งเดิมจึงอาจผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงจนทําให้ประสิทธิภาพของธนาคารกลางในการดําเนินนโยบายด้านการเงินด้อยลง ธนาคารกลางหลายประเทศจึงพิจารณาที่จะออก Central Bank Digital Currency (CBDC) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามรูปแบบของการออก CBDC ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่ง CBDC อาจทําให้บทบาทของธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เช่นCBDC ในรูปแบบบัญชีเงินฝากระหว่างประชาชนและธนาคารกลางจะทําให้ธนาคารกลางมีบทบาทที่คาบเกี่ยวกับการดําเนินนโยบายด้านการคลังมากยิ่งขึ้นจนอาจกลายเป็นธนาคารรัฐได้ เป็นต้น