EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>ศ- โมเดลอาชีพทางเลือกและห่วงโซ่อุปทาน-ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ศ- โมเดลอาชีพทางเลือกและห่วงโซ่อุปทาน-ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ผู้วิจัย : รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 162 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 6 ครั้ง

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการพัฒนาบนพื้นที่สูง เพื่อค้นหาเงื่อนไขและข้อ จำกัดต่างๆ เพื่อประกอบข้อเสนอแนะในการวางแนวทางการส่งเสริมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การประกอบอาชีพ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน 2) พัฒนา และนำเสนอโมเดลทางธุรกิจที่เป็นทางเลือกสำหรับรองรับเศรษฐกิจที่สูง 4.0 ที่สอดรับกับบริบทและความ หลากหลายของพื้นที่ ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ที่รวมถึงภาคการ แปรรูปและการให้บริการที่เป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3) เติมเต็มช่องว่างทางนโยบายและเสนอทางเลือกใน การพัฒนาชีวิตของคนที่สูงบนพื้นฐานของภาพอนาคตเศรษฐกิจที่สูง 4.0 ผลการศึกษา พบว่า 

การถอดบทเรียนความสำเร็จโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ พบว่า ระดับภาครัฐ ปัจจัยแห่งความสำเร็จต้องมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โดยเฉพาะการ จัดการน้ำและการตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจและการจัดการโซ่อุปทานในพื้นที่ สำหรับ โครงการที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ความล้มเหลวเกิดจากการส่งเสริมภารกิจด้านเดียวโดยไม่มีการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐาน ในระดับชุมชนปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาอาชีพต้องมีการสร้างแรงจูงในการลงทุนของ ครัวเรือน การพัฒนาธุรกิจชุมชนต้องมีการรวมกลุ่มการจัดการโซ่อุปทานการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดต้นทุน เพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้บนเงื่อนไขสำคัญ ประกอบด้วย เงื่อนไขด้านพื้นที่ และด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่า 

พื้นที่ของจังหวัดน่าน 7.17 ล้านไร่ ร้อยละ 85 อยู่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 การจัดที่ดินให้ชุมชนต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข คทช. ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เป็นพื้นที่ลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ร้อยละ 72 เป็นดินไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ดังนั้นพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตรจึงมีจำกัด รวมทั้งต้องลงทุนในการจัดการ น้ำเพื่อดึงน้ำจากที่ลุ่มไปทำการผลิตเกษตรบนพื้นที่สูง นอกจากนี้ครัวเรือนเกษตรยังมีข้อจำกัดด้านแรงงาน และการคมนาคม ที่ส่งผลให้การพัฒนาระบบเกษตรมีต้นทุนสูง โครงการนี้ได้ออกแบบทางเลือก 3 ระดับ (ระดับระบบเกษตร ระดับครัวเรือน และระดับโครงการ) ภายใต้เงื่อนไขการลดพื้นที่ ครัวเรือนสามารถสร้าง รายได้ไม่น้อยกว่าเดิม จากการสำรวจระบบการผลิตเกษตรที่เป็นอาชีพทางเลือกในพื้นที่สูง 82 รายการ และใช้ โปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อค้นหาระบบเกษตรในการทดแทนการปลูกข้าวโพด ภายใต้เงื่อนไขของขนาดเงินลงทุน (100,000 บาทต่อครัวเรือน) ขนาดพื้นที่ (10 - 20 ไร่ต่อครัวเรือน) และสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท ต่อปีต่อครัวเรือน โมเดลอาชีพทางเลือกแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ได้ดังนี้ 

ระดับระบบเกษตร โมเดลอาชีพทางเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4 และ 5 มี 3 ทางเลือก  ประกอบด้วย 1) การปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ได้แก่ กัญชงเพื่อใช้เส้นใย หม่อน กล้วยน้ำว้า) 2) การปลูกไม้ผล (ได้แก่  โกโก้ มะม่วงน้ำดอกไม้ กาแฟอาราบิก้า มะขามเปรี้ยว และไผ่ซาง) และ 3) การปลูกพืชผสมผสาน (ได้แก่  มะม่วงน้ำดอกไม้+กล้วยน้ำว้า มะม่วงน้ำดอกไม้+กาแฟอาราบิก้า หรือเพิ่มปศุสัตว์ได้แก่ แพะ ไก่พื้นเมือง โค พื้นเมือง) โมเดลอาชีพทางเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 พืชที่เหมาะสมกับการปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ มี 2 ทางเลือก ประกอบด้วย 1) การปลูกพืชอย่างเดียว (ได้แก่ มะขามเปรี้ยว ไผ่ซาง ผักหวานป่า)และ 2) การเกษตรผสมผสาน (ปลูกพืช + ปศุสัตว์) (ได้แก่ มะขามเปรี้ยว+แพะ ไผ่ซาง+แพะ) 

ระดับครัวเรือน ได้นำผลการวิเคราะห์ตัวแบบครัวเรือนในระดับตำบล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตัวแบบ และนำตัวแบบที่ 2 (ตัวแบบครัวเรือนที่ต้องการระยะเวลาปรับตัว) และ 3 (ตัวแบบครัวเรือนที่ต้องปรับเปลี่ยน อาชีพใหม่) มานำเสนอโมเดลอาชีพทางเลือก พบว่า ตัวแบบครัวเรือนที่ 2 ระบบเกษตรทางเลือก ได้แก่ การ ปลูกกาแฟ และเพิ่มปศุสัตว์ได้แก่ แพะ ไก่พื้นเมือง โคพื้นเมือง ตัวแบบครัวเรือนที่ 3 ระบบเกษตรทางเลือก  ได้แก่ ไผ่ซาง กัญชง (เส้นใย) กาแฟ ไม้ผล (มะขามเปรี้ยว) และเพิ่มประมง ได้แก่กบ และ/ปลาดุก 

ระดับโครงการ การพัฒนาโมเดลอาชีพทางเลือกภายใต้ข้อสมมติเงินสนับสนุนคืนพื้นที่ป่า การ ชดเชยการปลูกข้าวโพดแบบไม่เผา การสนับสนุนการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน การจัดสรร งบประมาณสำหรับหน่วยประสานงาน และการหาแหล่งสินเชื่อ มี 3 ทางเลือก ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1: ประสานกลไกรัฐ ทางเลือกที่ 2: ประสานกลไกรัฐร่วมกับการจัดการน้ำ ทางเลือกที่ 3: ประสานกลไกรัฐร่วมกับ การจัดการน้ำและการหาแหล่งสินเชื่อ 

ในการศึกษาการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดน่าน 10 เมนูโดยกลุ่มพืชเรียงลำดับจาก ผลตอบแทนต่อไร่ต่อปี ประกอบด้วย โกโก้มะม่วงน้ำดอกไม้ไผ่ซาง กาแฟ ลำไย มะม่วงหิมพานต์ปศุสัตว์  ประกอบด้วย ไก่พื้นเมือง แพะ โคเนื้อ และประมง (ปลาดุก) ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า ลำไยมีการจัดการ โซ่อุปทานที่เข้มแข็งสูงสุด รองลงมาได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้โกโก้โคเนื้อ ไก่พื้นเมือง ไผ่ซาง กาแฟ และแพะ ตามลำดับ ในขณะที่มะม่วงหิมพานต์ยังไม่มีความพร้อมในโซ่อุปทานการผลิต รวมทั้งปลาดุกที่ยังไม่มีความ เชื่อมโยงโซ่การผลิต แต่มีศักยภาพในการพัฒนาโซ่อุปทานการผลิต 

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 

  1. โมเดลอาชีพทางเลือก ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 การพัฒนาอาชีพเกษตรที่ยั่งยืน ควรพัฒนาระบบ เกษตรให้เปลี่ยนผ่านจากระบบการผลิตเกษตรเชิงเดี่ยวให้เป็นระบบเกษตรผสมผสานและบูรณาการการปลูกพืช ที่มีศักยภาพ 2 ชนิด และเสริมด้วยปศุสัตว์หรือประมง ทั้งนี้ต้องมีการสนับสนุนด้านการจัดการน้ำ และการบูร ณาการในพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีพี่เลี้ยงและหน่วยประสานงานในพื้นที่ สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงแหล่ง เงินทุน และโอกาสทางการตลาด ให้แก่เกษตรกรที่ต้องการระยะเวลาปรับตัว กลุ่มที่ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ และกลุ่มครัวเรือนที่มีหนี้สูง ต้องการการปรับโครงสร้างหนี้
  2. ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในระยะการเก็บเกี่ยว ควรผ่อนปรนให้ยังคงเก็บเกี่ยวโดยไม่ต้องตัด ในห้าปีแรก และทยอยตัดร้อยละ 20 ต่อปีเพื่อเปลี่ยนพืชในปีที่หก ระหว่างนี้ก็ให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ภายใต้ร่มต้นยางพาราได้
  3. ทางเลือกสำหรับระบบการผลิตเกษตรใหม่ ต้องมีการทดสอบความเป็นไปได้ของพืช/ปศุสัตว์ ในพื้นที่จริงก่อนที่จะดำเนินการจัดทำเป็นโครงการส่งเสริมและจัดการในระดับพื้นที่
  4. การพัฒนาโซ่อุปทานสำหรับเมนูอาชีพที่มีศักยภาพ มีความจำเป็นต้องพัฒนา ต่อยอดให้เกิด มูลค่าเพิ่มในการแปรรูปและการตลาด จนกว่าธุรกิจชุมชนของเกษตรกรจะเข้มแข็ง และแข่งขันได้ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์การสร้างแบรนด์การจัดการตลาด และ สนับสนุนการสร้างอาชีพใหม่ ซึ่งต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
  5. การพัฒนาอาชีพเกษตรสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ และกลุ่มเกษตรกรที่ยังพึ่งพา ตนเองไม่ได้ควรพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนในลักษณะเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) เพื่อให้เกิด การจัดการพื้นที่ขนาดใหญ่ร่วมกัน และเกิดการใช้ประโยชน์ในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐได้ลงทุนไว้และทำให้เกิด ความสามารถในการชำระหนี้
  6. การนำโมเดลอาชีพทางเลือกไปขยายผลให้เกิดความสมดุลของมิติเศรษฐกิจ สังคม และ ทรัพยากรธรรมชาติใน 99 ตำบลของจังหวัดน่าน หรือแม้กระทั่งในพื้นที่จังหวัดอื่นในภาคเหนือตอนบนที่มี บริบทคล้ายคลึงกัน โดยมีงบประมาณ การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและเอกชน ภาครัฐควรมีมาตรการ นโยบายสนับสนุน ไม่น้อยกว่า 5 ปี
  7. โมเดลอาชีพทางเลือกจากการศึกษาในครั้งนี้ควรที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็น เครือข่ายหรือธุรกิจชุมชนในพื้นที่จริง โดยเฉพาะโมเดลอาชีพทางเลือกที่เสริมด้วยปศุสัตว์/ประมง หรือพืชใหม่ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 
  8. โมเดลอาชีพทางเลือกเพื่อการจัดการระบบผลิตเกษตรที่ยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 ซึ่งคน กับป่าอยู่ร่วมกัน ในรูปแบบวนเกษตร โดยมีการปลูกไม้ป่าเสริมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ชุมชนสามารถเก็บ เกี่ยวผลผลิตและผลพลอยได้เพื่อการบริโภค/เพิ่มรายได้ของครัวเรือน ทำการตลาดด้วยการสร้าง ECO  branding