EN/TH
EN/TH
กลุ่มความเชื่อและคุณธรรมศึกษา>อ-บทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ในการสร้างคนไทย 4.0-อรุณี อินทรไพโรจน์
อ-บทบาทของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ในการสร้างคนไทย 4.0-อรุณี อินทรไพโรจน์
ผู้วิจัย : รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 18 มิถุนายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 250 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 19 ครั้ง

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประมวลข้อมูลทัศนคติของสังคมและความรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกี่ยวกับสถานภาพและความสัมพันธ์ของ บ้าน วัดและโรงเรียน "บวร" 2) ระบุแนวโน้มความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของ "บวร" 3) ค้นหาประเด็นส าคัญที่จะมีผลต่อการสร้างคนไทย 4.0 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิทยาการโดยการบูรณาการระเบียบวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเข้าด้วยกัน ข้อมูลได้จากการสืบค้นจาก 1) ฐานข้อมูลงานวิจัย 2) ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย 3) ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์ (Online News Clipping) จำนวนทั้งสิ้น 439,998 รายการ (Record) เมื่อนำมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วเหลือเพียง 53,083 รายการ (ร้อยละ 12.06) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ การวิเคราะห์โดยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) และการทำเหมืองข้อความ (Text Mining)

การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน 1) การวิเคราะห์บริบทของ “บวร” ในภาพรวม และ 2) วิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ “บวร” จ านวน 6 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาความรุนแรง การฆ่าตัวตาย เด็กแว้น พุทธพาณิชย์และพุทธศรัทธา คุณภาพการศึกษาและการทุจริตในวงการการศึกษา

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า “บวร” เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นความร่วมมือที่มีอยู่ในวิถีชีวิตตามปกติของคนไทย หน่วยงานหรือบุคคลที่มีบทบาทหรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน “บวร” ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หรือแนวคิด โดยนำหลักของ “บวร” ไปผนวกกับภาระงาน หลังจากนั้นจึงทำการขับเคลื่อนในรูปแบบโครงการ กิจกรรมผ่านไปยังชุมชน สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ “บวร” เป็นการสร้างความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้มีส่วนร่วมของ "บวร" เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับคนในสังคม ถึงแม้บางกิจกรรมไม่ได้มีความสำคัญหรือมีประโยชน์กับชุมชนมากนักแต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อผู้เข้าร่วม แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้บทบาทของ “บวร” ลดความสำคัญลง

ผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาพบว่าแนวโน้มของปัญหาความรุนแรงและการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว ชุมชน สังคม และการล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลในครอบครัว การฆ่าตัวตายของคนในวัยทำงาน และวัยกลางคน ผู้สูงอายุ สาเหตุหลักเกิดจากปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจ-การเงิน ปัญหาเด็กแว้นเกิดขึ้นมานานมีแนวโน้มขยายตัวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และการแก้ไขปัญหาเด็กแว้นด้วยวิธีต่างๆ ยังไม่ประสบความสำเร็จ ประชาชนยังมีความเลื่อมใสในพุทธพาณิชย์ในรูปแบบต่างๆ และมีทัศนคติเชิงบวกต่อวัด พระสงฆ์ และศาสนา ผู้คนยังมีความศรัทธา ความเชื่อ ความสุข ความหวัง ต่อศาสนา ทัศคติเชิงบวกสูงกว่าเชิงลบมาก ถึงแม้ความศรัทธาในศาสนายังสูงแต่แนวโน้มความเสื่อมศรัทธาเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มและปัญหาของคุณภาพการศึกษาและการทุจริตในวงการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยด้านระบบการเรียนการสอน และด้านการบริหารมหาวิทยาลัย การทุจริตในวงการศึกษาส่วนใหญ่เป็นธรรมาภิบาลด้านคุณธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์