EN/TH
EN/TH
กลุ่มความเชื่อและคุณธรรมศึกษา>ร-บทบาทของบ้าน ครอบครัว และชุมชนในการสร้างคนไทย 4.0 กรณีศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตาย-ระพีพัฒน ภาสบุตร
ร-บทบาทของบ้าน ครอบครัว และชุมชนในการสร้างคนไทย 4.0 กรณีศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตาย-ระพีพัฒน ภาสบุตร
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.ระพีพัฒน ภาสบุตร และ ผศ.นภาพร เตรียมมีฤทธิ์   โพสต์ เมื่อ 18 มิถุนายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 252 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 26 ครั้ง

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบ้าน ครอบครัวและชุมชนในสังคมไทย กรณีศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตาย เพื่อจัดทําและประมวลข้อมูลทัศนคติของสังคมและความรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกี่ยวกับบ้าน ครอบครัว และชุมชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการฆ่าตัวตายที่จะมีผลต่อการสร้างคนไทย 4.0 และหัวข้อวิจัยสําหรับแผนงานคนไทย 4.0 โดยเก็บข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Pantip จํานวน 10,852 รายการ Facebook จํานวน 924 รายการ และTwitter จํานวน 1,223 รายการเพื่อนํามาใช้ในการศึกษา หลังจากตัดข้อมูลซ้ําและข้อมูลส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออก (Removing Suspicious Data) เหลือข้อมูลรวมทั้งหมด 2,386 รายการ

ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นอยากฆ่าตัวตายหรือคิดฆ่าตัวตายมากที่สุดจํานวน 2,075 รายการ รองลงมาเป็นพยายามฆ่าตัวตาย หมายถึงคนเคยฆ่าตัวตายแต่ยังไม่ตายจํานวน 178 รายการ ด้านวิธีการฆ่าตัวตายพบว่าเป็นการกินยาตาย และการผูกคอตายมากที่สุด รองลงมาเป็นการทําร้ายตัวเอง ส่วนใหญ่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นที่บ้าน ช่วงเวลาเช้า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ด้านวัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและวัยรุ่น สําหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายเกิดจากด้านจิตใจมากที่สุด รองลงมาเป็นปัจจัยด้านครอบครัว และด้านความรัก เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านการเรียนพบว่าเกิดจากผลการเรียนมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านความรักพบว่าส่วนมากเกิดจากผิดหวังกับความรัก ขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจพบว่าส่วนมากเกิดจากปัญหาด้านรายได้และหนี้สิน ปัจจัยด้านครอบครัวพบว่าส่วนมากเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการถูกตําหนิปัจจัยด้านการทํางานส่วนมากเกิดจากการไม่มีงานทํา กรณีปัจจัยด้านจิตใจพบว่าส่วนมากเกิดจากความรู้สึกหดหู่ซึมเศร้าความเครียด และรู้สึกด้อยค่า บุคคลที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดการฆ่าตัวตายพบว่าเกิดจากแม่มากที่สุด รองลงมาเป็นทั้งพ่อและแม่ วัยรุ่น/ เยาวชนทั้งเพศชายและหญิงที่มีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาด้านการเรียนจากผลการเรียน ถูกตําหนิจากแม่ รู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า หดหู่ มีความเชื่อมโยงกับการฆ่าตัวตายโดยการกินยาตาย ผูกคอตาย หรือทําร้ายตนเอง อย่างไรก็ตามพบว่าการมีความห่วงใยคนที่รักในครอบครัวอยู่ การกลัวเจ็บ การมีคนให้คําปรึกษา และการใช้หลักธรรมทางศาสนา เช่น การมีสติกลัวบาป สามารถช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตายลงได้