EN/TH
EN/TH
Array>ร-ทำความเข้าใจศักยภาพในการแข่งขันของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้าน ดิจิทัล และการพัฒนา SME digitization index (ระยะที่ 1)-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ร-ทำความเข้าใจศักยภาพในการแข่งขันของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้าน ดิจิทัล และการพัฒนา SME digitization index (ระยะที่ 1)-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น และคณะ   โพสต์ เมื่อ 11 พฤษภาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 251 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 47 ครั้ง

การชี้วัดระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy) เป็นตัวแปรสำคัญที่นักวิชาการ และผู้วางนโยบายต้องการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โครงการวิจัยนี้นำเสนอเครื่องมือสำหรับการวัด SME digital literacy ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อยได้แก่ 1) cognitive domain 2) soft skill domain 3) digital skill domain 4) digital business strategy domain และ 5) cybersecurity and data protection domain

นอกจากนี้การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (digital transformation) ยังเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเพื่อบ่งชี้ถึงความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีการพัฒนาดัชนี SME digital transformation index ซึ่งประกอบด้วย 7 มิติย่อยได้แก่ 1) intensity of internet usage in business 2) intensity of digital device usage 3) intensity of digital application usage 4) intensity of digital channel 5) intensity of digital business strategy 6) intensity of data analytic และ 7) intensity of creating organizational structure for innovation

ภายหลังการสำรวจผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย (คนทำงานน้อยกว่า 10 คน) และผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (คนทำงาน 11-100 คน) จำนวน 2,014 กลุ่มตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลต่ำ โดยกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลสูง จะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่ และเจ้าของกิจการจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กที่ประกอบธุรกิจด้านบริการอาหารและเครื่องดื่ม และบริการค้าปลีกและ/หรือค้าส่ง ซึ่งการมีระดับทักษะด้านดิจิทัลที่สูงจะส่งผลบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตในธุรกรรมต่าง ๆ แต่ยังไม่สามารถใช้กลยุทธ์ดิจิทัลแบบบูรณาการได้จะมีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สูงในทุกมิติเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจมีรายได้สูง มีการเติบโตที่สูงกว่าคู่แข่ง มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่าคู่แข่ง และมีเป้าหมายการเติบโตที่สูงมากกว่า 2 เท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงอยู่แล้วนั้น ยังมีความพยายามในการหาแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากวิกฤติมากที่สุด