EN/TH
EN/TH
วิจัยการท่องเที่ยว>[โครงการวิจัยย่อยที่ 2] แนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษาภูเก็ต เชียงราย และพัทลุง
[โครงการวิจัยย่อยที่ 2] แนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษาภูเก็ต เชียงราย และพัทลุง
ผู้วิจัย : อภิวัฒน์ รัตนวราหะ และคมกริช ธนะเพทย์   โพสต์ เมื่อ 22 มีนาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 268 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 41 ครั้ง

การท่องเที่ยวเป็นสาขาเศรษฐกิจหลักของไทยในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มความสำคัญขึ้นไปอีก ทั้งในด้านจำนวนนักท่องเที่ยว มูลค่าทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน รวมไปถึงผลกระทบต่อชุมชน ไม่ว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปอย่างไร เมืองจึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักของการท่องเที่ยวอยู่เสมอและเรื่อยไป แต่นโยบายการท่องเที่ยวไทยที่ผ่านมาเน้นพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเป็นจุด ๆ หรือเป็นเส้นทางที่เชื่อมแหล่งท่องเที่ยว โดยไม่ผูกโยงกับแนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองในภาพรวม โครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมแบบเดิมจึงไม่สามารถรองรับการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปได้ ปัญหาเหล่านี้มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว ต่อภาพลักษณ์ของเมือง ต่อการดารงชีวิตของคนในเมือง และยิ่งทาให้ศักยภาพและความน่าเที่ยวของเมืองลดน้อยลง ดังนั้น กรอบแนวคิดและแนวทางการวางแผนพัฒนาและออกแบบเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวก็จาเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย เพื่อรับมือกับปัจจัยด้านการท่องเที่ยวและด้านอื่น ๆ ที่มีความไม่แน่นอนสูงและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) ประมวลภาพรวมของประเด็นปัญหาด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของประเทศไทย (2) ทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการหลักในการพัฒนาเมืองท่องเที่ยว (3) วิเคราะห์ประเด็นความท้าทาย โอกาสและอุปสรรคในการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่เป็นกรณีศึกษา และ (4) จัดทาตัวอย่างแผนกลยุทธ์ 5-10 ปีสาหรับการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่เป็นกรณีศึกษา พร้อมตัวอย่างการออกแบบในย่านสาคัญของเมืองท่องเที่ยว

คณะวิจัยได้เลือกกรณีศึกษาพื้นที่เมืองใน 3 จังหวัดที่มีความหลากหลายและความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาและออกแบบเมืองต่างกัน ได้แก่ (1) พื้นที่เมืองภูเก็ตและชายหาดสำคัญเป็นกรณีศึกษาเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ (2) พื้นที่เมืองแม่สายและเชียงของในจังหวัดเชียงรายเป็นตัวแทนเมืองท่องเที่ยวชายแดน และ (3) เมืองพัทลุงเป็นตัวแทนเมืองขนาดเล็กที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคต นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยของโครงการวิจัยอื่นในแผนงานเดียวกันนี้ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่และลาปาง

ในด้านวิธีการศึกษานั้น คณะผู้วิจัยได้ทดลองแนวคิดและกระบวนการวางแผนแบบฉากทัศน์และการพัฒนาแบรนด์ของเมือง เพื่อใช้เป็นกรอบในวางยุทธศาสตร์และออกแบบพื้นที่เมืองที่แตกต่างไปจากเดิม ส่วนข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิในฐานข้อมูลทั้งในด้านภูมิศาสตร์ ประชากร เศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว ประกอบกับข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการลงสำรวจในพื้นที่ศึกษา การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการนำเสนองานให้กับตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่

ข้อค้นพบหลักของงานวิจัยนี้มีดังนี้

1. กับดักเมืองท่องเที่ยวรายได้ปานกลาง : เมืองท่องเที่ยวชั้นนำของไทยติดกับดักเมืองท่องเที่ยวรายได้ปานกลาง เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้มากจากการท่องเที่ยว ความท้าทายหลักของเมืองท่องเที่ยวที่สรุปได้จากกรณีศึกษามีอยู่ 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่

i. ขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานของเมืองท่องเที่ยวพัฒนาไม่ทันความต้องการ

ii. อัตลักษณ์ของความเป็นเมืองท่องเที่ยวไม่ได้รับการรักษาหรือเสริมสร้างให้ดียิ่งขึ้น

iii. ผลประโยชน์กับภาระที่เกิดจากการท่องเที่ยวไม่ได้รับการจัดสรรอย่างเป็นธรรม

2. อนาคตของเมืองรองขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว : เมืองขนาดเล็กจำนวนมากประสบปัญหาจำนวนประชากรมีแนวโน้มคงที่หรือลดลง และฐานเศรษฐกิจไม่มีความหลากหลาย การท่องเที่ยวจึงดูเหมือนจะเป็นทางเลือกสำคัญที่อาจช่วยบรรเทาปัญหาด้านเศรษฐกิจและประชากรของเมืองขนาดเล็กเหล่านี้ได้

3. ข้อจำกัดในการมองอนาคตและเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนเมือง : แทบทุกพื้นที่ไม่มีการวางแผนระยะยาวที่มาจากการวิเคราะห์ภาพอนาคตของการพัฒนาและออกแบบเมืองเพื่อการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน

4. ความท้าทายด้านองค์กรและการสร้างหุ้นส่วนในการบริหารจัดการเมือง : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอุปสรรคและข้อจากัดในการบริหารจัดการเมืองของตนเอง ความท้าทายดังกล่าวผูกโยงกับเรื่องบทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และบทบาทของภาคเอกชนภายในพื้นที่

ข้อเสนอหลักของงานนี้คือ ความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการพื้นที่เมือง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับของโครงสร้างพื้นฐานให้สะดวก สะอาด สวยงาม ปลอดภัย และทันสมัย พร้อมกับสร้างความยั่งยืนเชิงนิเวศ และการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไปจนถึงการรักษาและพัฒนาอัตลักษณ์เมืองตามบริบทที่เหมาะสม

งานศึกษานี้ยังมีข้อเสนอแนะเชิงกระบวนการพัฒนาและออกแบบเมืองท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่

(1) การวิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์เมืองท่องเที่ยว (2) การสร้างฉากทัศน์เมืองท่องเที่ยวในอนาคต (3) การพัฒนาแบรนด์ของเมือง (4) การสร้างทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมือง และ (5) การออกแบบเมือง

ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองดาเนินกระบวนการข้างต้น แสดงออกมาเป็นข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์ระยะกลาง (5-10 ปี) ของแต่ละกรณีศึกษา โดยเน้นหลักการพื้นฐานในการพัฒนา 2 ประการ คือ การออกแบบและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และการออกแบบเมืองเพื่อเปลี่ยนภูมิสัณฐานเมืองที่เป็นสินทรัพย์ (assets) ที่มีอยู่แต่เดิม ให้กลายเป็นทุน (capital) ในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสำหรับจังหวัดภูเก็ต คณะผู้ศึกษาเสนอตัวอย่างยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟรางเบา การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าและเมืองเดิม การพัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเก่าภูเก็ตกับพื้นที่อื่น การพัฒนาและออกแบบขุมเหมือง และการรักษาและยกระดับอัตลักษณ์ของย่านท่องเที่ยว

สำหรับเมืองแม่สาย ผู้วิจัยแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อพื้นที่การค้าชายแดน การสร้างการท่องเที่ยวมุมมองใหม่ในเมืองแม่สาย การสร้างพื้นที่พหุวัฒนธรรม ส่วนเมืองเชียงของ เสนอให้เชื่อมต่อย่านทั้งหมดด้วยพื้นที่ริมแม่น้าโขง อนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ภายในเมืองเก่าเชียงของ และพัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต ไปพร้อมกับการจัดการที่จอดรถและขนส่งสาธารณะสำหรับเมืองพัทลุง คณะผู้วิจัยเสนอตัวอย่างการสร้างองค์ประกอบและภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวระดับย่าน การเสริมสร้างภูมิทัศน์เมืองให้เป็นจุดหมายตา การพัฒนาพื้นที่กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม และการสร้างการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านเมือง

ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ระดับประเทศ มีดังต่อไปนี้

  1. ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในการวางแผนพัฒนาเมืองท่องเที่ยว
  2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองท่องเที่ยว
  3. ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวของเมือง
  4. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการมองและกาหนดภาพอนาคตเมืองท่องเที่ยว
  5. ยุทธศาสตร์การสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ของเมืองท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม
  6. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการพัฒนาและออกแบบเมืองท่องเที่ยวในระดับย่าน
  7. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนาและออกแบบเมืองท่องเที่ยว