EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>จ- การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับสมรรถนะเยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน-จงกล พรมยะและวันวสา วิโรจนารมย์
จ- การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับสมรรถนะเยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน-จงกล พรมยะและวันวสา วิโรจนารมย์
ผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยตรี รศ.ดร.จงกล พรมยะ และ ดร.วันวสา วิโรจนารมย์   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 154 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 3 ครั้ง

การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับสมรรถนะเยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน (จังหวัดน่าน) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะของเยาวชน ในสมรรถนะเชิงดิจิทัล สมรรถนะเชิงเศรษฐกิจแบบใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ สมรรถนะเชิงสังคม/วัฒนธรรมไทย และสมรรถนะเชิงจิตสาธารณะ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนในจังหวัดน่าน พบว่า เยาวชนเกือบร้อยละ 50 ของผู้ตอบ ครัวเรือนมีอาชีพการเกษตร แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ที่สนใจอาชีพเกษตร และร้อยละ 60 ของผู้ตอบ สนใจทำอาชีพการเกษตร เพื่อเป็นรายได้เสริม เช่น การเพาะเลี้ยงกบ และปลาดุก นักเรียนมีความรู้ และสนใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 70 ของผู้ตอบ มี Line ID และอีกร้อยละ 90 มี Facebook และอีกร้อยละ 60 ของผู้ตอบ สนใจการซื้อขายผ่านออนไลน์ และเคยมีประสบการณ์ น าข้อมูลเยาวชนมาดำเนินการผ่านกิจกรรมและฐานเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ บ้าน(ครัวเรือน) วัด โรงเรียน และชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันกับเยาวชน และวางแผนทำกิจกรรม ดังนี้ 1) แนวทางการยกระดับสมรรถนะเชิงดิจิทัล จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่เป็นความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญ เข้าใจ ใช้และพัฒนาสื่อดิจิทัล 2) แนวทางการยกระดับสมรรถนะเศรษฐกิจแบบใหม่ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจภายนอกให้สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน 3) แนวทางการยกระดับสมรรถนะเชิงสังคม/วัฒนธรรม จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่นำมาสู่การรักถิ่นฐาน รักบ้านเกิด 4) แนวทางการยกระดับสมรรถนะเชิงจิตสาธารณะ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะที่กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวมช่วยเหลือชุมชนและ/สังคม และรู้จักแบ่งปัน จากการท ากิจกรรมผ่านฐานเรียนรู้ สรุปและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะของเยาวชนๆ ต้องมี 1) สมรรถนะเศรษฐกิจยุคใหม่ และดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรกที่ควรยกระดับ 2) ควรดำเนินกิจกรรมผ่านการออกแบบฐานเรียนรู้ร่วมกับสถาบัน/ชุมชน เช่น บ้าน วัด โรงเรียน หรือผู้นำชุมชน/ปราญชาวบ้าน 3) กิจกรรมที่ดำเนินการต้องเชื่อมต่อ และผนวกกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) เพิ่มโอกาส/เสริมให้กับเยาวชนที่สนใจเป็นผู้ประกอบการ/แปรรูปในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสู่กลุ่ม Start up และวิสาหกิจเยาวชนที่รักบ้านเกิด