EN/TH
EN/TH
เกี่ยวกับเรา>แผนงานคนไทย 4.0>กรอบการดำเนินการ
กรอบการดำเนินการ

หลักการ

“หลักการสำคัญของกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะของประเทศนั้น จะต้องประกอบด้วย กระบวนการ ทางปัญญา กระบวนการทางศีลธรรม และกระบวนการทางสังคม และการสร้างสังคมก็เปรียบเสมือนการสร้าง เจดีย์ ต้องสร้างจากฐานรากให้เข้มแข็ง” (ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจอธิบายด้วยแบบจำลองสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของ บทบาทที่สำคัญของภาคีต่างๆ ในการพัฒนานโยบายสาธารณะอันประกอบด้วย ภาคีวิชาการเพื่อสร้างความรู้ ภาคี ภาคประชาชนเพื่อสร้างการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารสาธารณะ และภาคีรัฐและส่วนราชการที่เป็นผู้ผลักดันนโยบาย สำคัญ (Key Drivers) เพื่อสร้างความเข้าใจบนฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการออกนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ทั้งนี้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งสามฝ่ายผ่านการจัดการความรู้ ดังรูปที่ 1

ภาคีราชการ ประกอบด้วย กระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงแรงงาน กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงต่างประเทศและกระทรวง วัฒนธรรม และศูนย์ดำรงธรรม

รูปที่ 1 แบบจำลองสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขากับการจัดการความรู้เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ

กรอบแนวคิดของแผนงาน

1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกที่เกิดขึ้นมาแล้วและจะวิวัฒนาการต่อไป ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงและ ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนไทย เพื่อที่จะดูว่าการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบนี้มากเพียงใด และชีวิตคนไทยได้เปลี่ยนไป อย่างไร ผลการศึกษานี้จะได้สถานภาพของคนไทย 3.0 และภาพอนาคตคนไทย 4.0

2) ทบทวนอภิมหากระแสโลกที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตคนไทยโดยตรง ในเบื้องต้นหรือปีแรกจะเลือกมา 3 กระแสด้วย กันคือ

(1) เทคโนโลยีป่วนโลก (Disruptive Technology) โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพ ปัญญาประดิษฐ์

(2) กระแสเศรษฐกิจดิจิทัล และ (3) บูรพาภิวัฒน์

3) ศึกษาสถานภาพคนไทย 3.0 ทบทวนกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย เช่น ปรากฏการณ์หรืออภิมหา โครงการของรัฐที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย เช่น การเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ การ ขยายตัวของเศรษฐกิจท่องเที่ยวและโอกาสการครอบงำของนักลงทุนต่างชาติหรือการขยายตัวของเมือง รวมทั้ง โครงการใหญ่ของรัฐบาล คือ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งจะใช้เงินลงทุนของรัฐอย่างมหาศาลเป็นเวลาต่อ เนื่องอีกหลายปี

4) ศึกษารากเหง้าและปัญหาในสังคมไทย โดยเฉพาะที่มาของความเชื่อ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาในสังคม เช่น เชื่อในโชคลาภจากการพนันการแก้ปัญหาด้วยไสยศาสตร์ เป็นต้น (รูปที่ 2) ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นลบต่อสังคม

รูปที่ 2 แนวคิดภูเขาน้ำแข็งของระบบความคิด

ที่มา : Future Consideration adapted from Booth Sweeny, L. and Meadows,D. 2010. The Systems Thinking Playbook. Chelsea Green Publishing.

5) ทำการพยากรณ์หรือสร้างภาพชีวิตคนไทย 4.0 ในภาพอนาคต (รูปที่ 3) และอาศัยข้อมูลที่กล่าวมาแล้วโดยใช้วิธี การของอนาคตศึกษาในประเด็นหลักๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของลักษณะครอบครัวไทยที่เกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตายของคนไทย และใน 4 ประเด็นที่เกี่ยวกับชีวิตคนไทย (สี่ ส.) ได้แก่ การเสพ การสร้างสรรค์ การสื่อสาร และ เสรีภาพของการเลือกใช้ชีวิตภายใต้การกำกับของรัฐ (4Cs = Consumption, Create, Communicate, Control) เพื่อวิเคราะห์ว่า ชีวิตและความเชื่อของคนไทย วิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ชีวิตดิจิทัลของคนไทย ในขณะนี้และใน อนาคตจะเป็นอย่างไร เป็นต้น

รูปที่ 3 ภาพอนาคตชีวิตคนไทย 4.0

6) วิเคราะห์เจาะลึกในประเด็นสำคัญที่จะเพิ่มคุณภาพคนไทย ซึ่งเป็นประเด็นเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละช่วงชีวิตของ คนไทยตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนก่อนเข้าสู่ภาวะสูงวัย เช่น

- ในวัยเยาว์จะเป็นประเด็น เช่น การเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ การเรียนของเด็กก่อนวัยเรียนจะ เป็นอย่างไร ปฐมวัยจะเป็นอย่างไร การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยน ไปอย่างไร เป็นต้น

- ในวัยทำงานการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะเป็นอย่างไร การให้ความรู้ และการศึกษาแก่แรงงานนอกระบบควรเป็นอย่างไร

7) กระจายประเด็นสำคัญไปในระดับพื้นที่ เช่น ในเมืองและในชนบท และในระหว่างกลุ่ม เช่น ระหว่างผู้หญิงและ ผู้ชาย ระหว่างคนรวยกับคนจนระหว่างกลุ่มกระแสหลักและกลุ่มชายขอบ เช่น เกษตรกรที่สามารถใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่และเกษตรกรชายขอบ รวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้เพื่อให้เห็นสภาพความเหลื่อมล้าที่อาจจะเกิดขึ้น

8) วิเคราะห์นโยบายควบคู่กันไปกับอนาคตศึกษา และเสนอแนะนโยบายสาธารณะในปัจจุบันที่มีผลก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลบ ในอนาคตเมื่อเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ใหม่ที่จะอุบัติขึ้นและเสนอนโยบายสาธารณะใหม่ เพื่อบรรเทาปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

9) ศึกษาปัญหาคุณธรรมในสังคมไทยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนคุณธรรม 5 ประการคือ จิตอาสา มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และพอเพียง

10) ออกแบบและเสนอนโยบาย มาตรการ นวัตกรรมด้านการบริหาร นวัตกรรมด้านการศึกษา เพื่อสร้างคนไทย 4.0 ที่เก่ง ดี มีจิตสาธารณะ และพร้อมรับสถานการณ์ในอนาคต

11) เผยแพร่ความรู้ นโยบาย นวัตกรรมสู่ภาคีรัฐและส่วนราชการ (Key Drivers) และสาธารณชน

12) ศึกษาประเด็นเยาวชนเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของเยาวชน 3.0 ซึ่งจะเติบโตเป็นไปเป็นคนไทย 4.0 ใน 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

- กลุ่มเยาวชนเมือง จะศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อ พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเสพ (อาหาร/ ยาเสพติด/ อิน เทอร์เน็ต) การศึกษาเรียนรู้ และการสื่อสาร

- กลุ่มเยาวชนจิตอาสาและผู้นาเยาวชน จะศึกษาเพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างแกนนำ และเครือข่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

- กลุ่มเยาวชนด้อยโอกาส จะศึกษาและพัฒนาโอกาสใหม่ โดยสร้างโมเดลด้านการเกษตร ทักษะใหม่ และ ธุรกิจใหม่ให้กลุ่มเกษตรกรบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรชายขอบ และสนับสนุนให้เกิดเยาวชนเกษตรกรพื้นที่สูงที่จะเติบโตไปเป็นแกนนา เกษตรกร 4.0 หรือคนไทย 4.0 ที่มีทักษะใหม่ ที่เป็นทักษะอื่นๆ ในการดารงชีวิต