

งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียนไทย 4.0 : การศึกษานําร่องวิชาภาษาไทย” มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอภิปัญญาในการเรียนการสอนภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภาษาไทยในการพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียน 3) เพื่อประเมินอภิปัญญาของนักเรียนในวิชาภาษาไทย และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาไทย งานวิจัยนี้เป็นการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจํานวนทั้งสิ้น 5 คน โดยนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ มาจากชั้นเรียนที่นักศึกษากลุ่มเป้าหมายคนละ 1 ห้องเรียน ประมาณห้องเรียนละ 45 คน รวมทั้งสิ้น 225 คนจากโรงเรียนที่ทางคณะศึกษาศาสตร์ได้ส่งไปฝึกประสบการณ์ในปีการศึกษา 2562 ในเขตจังหวัดเชียงใหม่หรือใกล้เคียง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ตารางการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับอภิปัญญาด้านการสอนภาษาไทย 2) แผนการจัดการอบรมปรับความรู้ให้แก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและครูพี่เลี้ยง 3) แบบตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4) แบบนิเทศการสอนโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 5) แบบสะท้อนคิดของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 6) แบบวัดและประเมินอภิปัญญาของนักเรียน 7) แบบสังเกตอภิปัญญาของนักเรียน 8) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 9) แบบสะท้อนคิดของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กลวิธีอภิปัญญา และ 10) แบบสัมภาษณ์นักเรียน
ผู้วิจัยได้ออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับแนวทางการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือ Action Research เพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิชาภาษาไทยในการพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียนซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้ในงานวิจัยตามที่ได้เสนอไปในข้อเสนอการวิจัย คือ การใช้วงจร PAOR หรือ Plan-Act-Observe-Reflect ในการพัฒนานักศึกษาที่แบ่งออกเป็น 3 วงจร
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
The purposes of this study were (1) to investigate the body of knowledge about the development of metacognition in teaching and learning Thai language; (2) to examine the guidelines for action research by promoting student teachers to develop the students’ metacognition in secondary schools; (3) to assess the students’ metacognition, and (4) to determine the relationship between the students’ metacognition and learning achievement. The study used action research for encouraging student teachers to enhance the students’ metacognition and learning achievement. The participants were five student teachers from the Faculty of Education, Chiang Mai University, and 225 secondary school students obtained by selecting one classroom (approximately 45 students) from each school where the student teachers practiced teaching in 2019. Those schools were in Chiang Mai and other nearby provinces. The data collection tools included: (1) a synthesis matrix of research relating to metacognition in teaching Thai language; (2) a training plan of knowledge adjustment provided for student teachers and associate teachers; (3) a qualitative checklist of lesson plans using metacognitive strategies; (4) a classroom observation form using metacognitive strategies; (5) a reflection form for the student teachers; (6) evaluation and assessment forms of metacognition for secondary school students; (7) an observation form of the students’ metacognition; (8) an evaluation form of the learning achievement for secondary school students; (9) a reflection form of the students who were treated by metacognitive strategies in the classroom, and (10) an interview form for the students.
The researcher designed and planned the guides for action research in order to promote student teachers, who practiced teaching Thai language, to enhance the students’ metacognition. To develop student teachers, the concept of action research, PAOR (Plan-Act-Observe-Reflect), was applied and divided into three cycles.
The results of this study found the following aspects: