โดยทั่วไป กระบวนการเมืองและการเติบโตของเมืองอาศัยความต้องการแรงงานเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ดึงดูดคนให้เข้ามาหางานและรายได้ กลายเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานภาคบริการที่หลากหลาย และทําให้โอกาสและความน่าลงทุนทางธุรกิจในเมืองมีสูงขึ้น พลวัตการเปลี่ยนแปลงของแรงงานและเมืองดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยในปัจจุบัน มีคนเมืองถึงร้อยละ 50.5 ของประชากรทั้งหมด ในทางกลับกัน พื้นที่ทางกายภาพในเมืองก็มีส่วนในการเอื้อประโยชน์หรือสร้างความท้าทายต่อกิจกรรมการทํางานของคนเมือง และกิจกรรมของคนเมืองเองก็มีผลต่อศักยภาพ การใช้ประโยชน์ และความสําคัญของพื้นที่ทางกายภาพเมืองด้วยเช่นกัน ดังนั้น การทํางานจึงเป็นเรื่องของพื้นที่เมืองที่คอยเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง
บทสรุปเชิงนโยบายนี้นําเสนอข้อมูลสําคัญจากรายงาน เรื่อง “คนเมือง 4.0: การทํางานในเมือง” โดย อ.ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ เสนอต่อ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0 (2563)