EN/TH
EN/TH
เอกสารวิจัย>ส-การวิเคราะห์พัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่ได้จากวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย-สุขุมาลย์ หนกหลัง, ณัฐพล อนันต์ธนสาร, ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล
ส-การวิเคราะห์พัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่ได้จากวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย-สุขุมาลย์ หนกหลัง, ณัฐพล อนันต์ธนสาร, ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล
ผู้วิจัย : ดร. สุขุมาลย์ หนกหลัง, ดร. ณัฐพล อนันต์ธนสาร และ ดร. ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล   โพสต์ เมื่อ 03 กุมภาพันธ์ 2022
จำนวนผู้เข้าชม 211 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 16 ครั้ง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่ได้จากวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย (2) วิเคราะห์รูปแบบพัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอน และ (3) วิเคราะห์กรณีศึกษาพัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยด้านการสอน มหาวิทยาลัยเปิด และมหาวิทยาลัยราชภัฏ แหล่งข้อมูลในการวิจัยนี้ คือ วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนของคณะครุศาสตร์ และคณะศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาเอก และปริญญาโทของประเทศไทยที่เผยแพร ่ในฐานข้อมูลช่วงปีการศึกษา 2553 – 2562 และเป็นวิทยานิพนธ์ภาษาไทยเท่านั้น จำนวนรวมทั้งสิ้น 4,385 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อมูลและการวิเคราะห์บรรณมิติ

ผลการวิจัย พบว่า (1) มหาวิทยาลัยทั้งสี่กลุ่มส่วนใหญ่เน้นการวิจัยเชิงทดลอง โดยตัวอย่างวิจัยเป็นครูและนักเรียนที่เป็นผู้เล่นหลักในการเรียนการสอน อีกทั้งมุ่งศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (2) มหาวิทยาลัยทั้งสี่กลุ่มมีพัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนที่สังเกตเห็นได้ไม่โดดเด่นมากเท่าที่ควรทั้งการออกแบบการวิจัย การออกแบบการวัด การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล และการออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษา และ (3) ผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา พบว่ามหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งมุ่งศึกษาระดับชั้นเรียนและสร้างนวัตกรรมแบบออฟไลน์ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ บทเรียน หนังสือ และนิทาน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏแตกต่างจากกรณีศึกษาอื่นกล่าวคือ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางการศึกษาที่ให้ประโยชน์กับท้องถิ่นและชุมชน พร้อมกันนี้คณะผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนไว้ด้วย

คำสำคัญ : การทำเหมืองข้อความ การวิเคราะห์บรรณมิติ วิทยานิพนธ์ หลักสูตรและการสอน

The research aimed to study the characteristics of knowledge in curriculum and instruction research obtained from theses in Thailand. The second objective was to analyze patterns of research knowledge development in curriculum and instruction. The third objective was to analyze case studies of research knowledge development in curriculum and instruction in the National Research University, teaching universities, open universities, and Rajabhat universities. The research data was acquired from 4,385 theses of the field of curriculum and instruction in the faculties of Education, Master’s Degrees, and Doctoral Degrees of Education in Thailand, which were included in the database in the academic years of 2010 - 2019. The theses were in Thai language only. The data was analyzed by ad opting text mining and bibliometrics.

The research results revealed that all four types of universities concentrated on experimental research, in which teachers and students were principal sample groups and main characters in their instruction and learning. Moreover, they focused mainly on the study of instructional achievement and the data was analyzed using descriptive statistics and t-test statistics. Secondly, the characteristics of research knowledge in curriculum and instruction developed in all four types of universities were not sufficiently outstanding. This included research design, measurement design, data analysis design, and educational innovation design. Finally, the results of analyzing the case studies showed that all the universities placed considerable emphasis on educational levels and off-line educational innovations such as learning activities, lessons, tutorials, and storytelling. However, Rajabhat universities showed a different trend from the others because they focused on educational innovations that benefited the local communities, along with suggestions and additional comments for further development of the characteristics of research knowledge embedded by the researchers.

Keywords: Text Mining, Bibliometrics, Theses, Curriculum and Instruction