

โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาธุรกิจชุมชนโคเนื้อในการพัฒนาอาชีพบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนโคเนื้อ ด้วยการบริหารจัดการโซ่อุปทานการผลิต และ 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาอาชีพ และธุรกิจชุมชนโคเนื้อบนพื้นที่สูง การวิจัยครั้งนี้ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจาก 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 103 ครัวเรือน จำแนกตามรูปแบบการเลี้ยง 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การเลี้ยงโคเนื้อพื้นเมืองในพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 จำนวน 93 ราย และการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมเลือดยุโรป ในพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 3 4 และ 5 จำนวน 10 ราย พื้นที่วิจัยอยู่ในอำเภอแม่จริม สันติสุข และปัว จังหวัดน่าน ผลการศึกษา พบว่า
ธุรกิจชุมชนโคเนื้อมีการบริหารโซ่อุปทาน 3 ห่วงโซ่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโซ่ที่ 1 การผลิต ชุมชนมีขนาดฝูงโค จำนวน 1,200 ตัว เป็นโคแม่พันธุ์ จำนวน 572 แม่ การจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการพันธ์ อาหาร และสุขศาสตร์สัตว์ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 1) จำนวนโคที่เพิ่มขึ้น ลูกโคเพิ่มขึ้นจาก 286 ตัว เป็น 343 ตัว และโคขุน จาก 176 ตัว เพิ่มขึ้นเป็น 211 ตัว 2) มูลค่าอาหารหยาบลดลงจาก 7,213.39 บาท/ตัว เป็น 6,150.89 บาท/ตัว สำหรับโคพื้นเมืองขุน และจาก 1,050.00 บาท/ตัว เป็น 625.00 บาท/ตัว สำหรับลูกโค และ 3) มูลค่าเวชภัณฑ์สัตว์ลดลงจาก 378.21 บาท/ตัว เป็น 340.39 บาท/ตัว สำหรับโคพื้นเมืองขุน และจาก 151.29 บาท/ตัว เป็น 136.16 บาท/ตัว สำหรับลูกโค ชุมชนมีกำไร 1,281,516.30 บาท และมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 18.43 โซ่ที่ 2 การรวบรวมชุมชนมีการบริหารจัดการในกิจกรรมการรวบรวมโคขุนมีชีวิต 211 ตัว และลูกโคเพศผู้ 171 ตัว ชุมชนมีกำไร 246,904.33 บาท อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 3.48 และ โซ่ที่ 3 การตลาด ชุมชนมีการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการตลาด ชุมชนมีกำไร 351,437.66 บาท โดยมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 4.65 การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจชุมชนตลอดโซ่อุปทานการผลิตโคเนื้อพื้นเมืองมูลค่า 1,793,039.15 บาท หรือเพิ่มร้อยละ 25.47 ของฐานมูลค่าเศรษฐกิจเดิม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประกอบด้วย