EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>อ-การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กรุงเทพฯ-อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ
อ-การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กรุงเทพฯ-อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ
ผู้วิจัย : นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน และคณะ   โพสต์ เมื่อ 11 กันยายน 2023
จำนวนผู้เข้าชม 243 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 23 ครั้ง

โครงการ การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ประการ ได้แก่ เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานของคนรุ่นใหม่และผู้มีจิตอาสาให้สามารถยกระดับการทำงานและกิจกรรมขับเคลื่อนในระดับชุมชนไปสู่ความยั่งยืนและสร้างความยืดหยุ่นให้ชุมชนในการรับมือกับภาวะวิกฤตและความเปลี่ยนแปลงของเมือง เพื่อพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีและดิจิทัลของชุมชน ผ่านการทำงานและกิจกรรมขับเคลื่อนในชุมชน และเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์และประสบการณ์ทำงานขับเคลื่อนในระดับชุมชนเพื่อยกระดับไปสู่การพัฒนาข้อเสนอทางนโยบายเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตและความเปลี่ยนแปลงของเมือง

ทางโครงการฯ ได้มีการสนับสนุนทุนในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับชุมชนจำนวนแห่งในกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนทั้งในมิติของพัฒนาอาสาสมัคร การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร การพัฒนาด้านทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อนชุมชน ผลจากการขับเคลื่อนพบว่าชุมชนสามารถนำทุน ที่ได้รับจากโครงการฯ ผนวกกับการพัฒนาศักยภาพจากโครงการฯ และเครือข่ายชุมชนไปปรับใช้ในการสร้างความเข็มแข็งและเพิ่มทุนในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสร้างความยืดหยุ่นให้กับชุมชนได้ นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังได้มีการสำรวจข้อมูลทุนด้านต่างๆ ของชุมชนและการเข้ เข้าถึงดิจิทัลขอครัวเรือนเพื่อนำข้อมูลที่ได้ส่งมอบให้กับชุมชนในการขับเคลื่อนและตั้งโจทย์การทำงานต่อไป

ผลการสำรวจได้พบข้อมูลและประเด็นที่มีความน่าสนใจจำนวนหนึ่ง ได้แก่ สมาชิกครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างในชุมชนเป้าหมายสามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ต ได้ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ยกเว้นสมาชิกครัวเรือนที่เป็นผู้สูงอายุที่มีบางส่วนไม่สามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ต หรือไม่มีการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน อันสะท้อนให้เห็นว่าอุปกรณ์ดิจิทัลและ อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญของชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนมากขึ้น ทั้งในประเด็นของการเข้ากลุ่มทางสังคม การติดต่อสื่อสาร และการประกอบอาชีพ ช่องทางการสื่อสารของชุมชนในลักษณะแบบดั้งเดิมทั้งหอกระจายข่าวในชุมชนหรือเสียงตามสาย และการกระจายข่าวผ่านร้านค้าในชุมชนยังเป็นช่องทางที่มีความสำคัญในการรับข่าวสารของสมาชิกในชุมชน ในขณะที่การรับข่าวสารผ่านกลุ่มไลน์ ต่างๆ ของชุมชนมีแนวโน้มที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และการออมของครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงและเกินกว่าร้อยละในทุกชุมชน อย่างไรก็ดี การออมส่วนใหญ่ยังมีลักษณะที่เป็นการออมไม่สม่ำเสมอในทางเดียวกันกับภาวะวิกฤตหรือขัดสนที่ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายที่รายงานว่าเคยประสบภาวะวิกฤตหรือขัดสนในรอบปีที่ผ่านมา รายงานว่าส่วนใหญ่มีความถี่ประสบปัญหาดังกล่าวในเกือบทุกเดือน อันสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนที่ประสบปัญหาดังกล่าวแล้วจะอยู่ในระดับปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรง